วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

ข้อมูลทั่วไป



ฟิลิปปินส์ (Philippines)


ชื่อทางการ  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines)



ธงชาติฟิลิปปินส์ (ตากาล็อก: Pambansang Watawat ng Pilipinas) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ตอนต้นธงเป็นรูปสามเหลี่ยมสีขาว ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมี 8 แฉก ล้อมด้วยดาวห้าแฉก 3 ดวง ตามมุมของรูปสามเหลี่ยม รูปเหล่านี้เป็นสีทอง ส่วนทีเหลือของธงนั้นเป็นแถบแบ่งครึ่งตามด้านยาวของธง ครึ่งบนพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างพื้นสีแดง หากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม




ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์ (Coat of Arms of the Philippines) มีลักษณะเป็นพระอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉกซึ่งแสดงถึงจังหวัดทั้งแปด (บาตันกัส บูลาจัน กาวิเต มะนิลา ลากูนา นูเอวา เอจิยา ปัมปางาและตาร์ลัก) ซึ่งอยู่ภายใต้กฎอัยการศึกระหว่างการปฏิวัติฟิลิปปินส์ และดาวห้าแฉกสามดวงแสดงถึงเขตทางภูมิศาสตร์หลักสามแห่งคือลูซอน วิซายา และ มินดาเนา พื้นสีน้ำเงินทางด้านซ้ายมีนกอินทรีของสหรัฐอเมริกา และพื้นสีแดงทางด้านขวามีสิงโตของสเปน ซึ่งแสดงถึงประวัติศาสตร์ในการเป็นอาณานิคม การออกแบบนี้คล้ายกับการออกแบบโดยเครือรัฐแห่งฟิลิปปินส์เมื่อ พ.ศ. 2483 
           คำที่อยู่ในผ้าแถบมีการเปลี่ยนแปลงไป ตั้งแต่ฟิลิปปินส์ได้รับเอกราชจากการได้รับเอกราชเมื่อ พ.ศ. 2489 – 2515 จนถึงเฟอร์ดินาน มาร์กอสประกาศกฎอัยการศึก ผ้าแถบมีคำว่า "REPUBLIC OF THE PHILIPPINES." จาก พ.ศ. 2522 จนถึงการสิ้นสุดอำนาจของมาร์กอสเมื่อ พ.ศ. 2529 ในผ้าแถบมีคำว่า "ISANG BANSA ISANG DIWA" (หนึ่งชาติ หนึ่งสปิริต) เมื่อมาร์กอสสิ้นสุดอำนาจลง ในผ้าแถบเปลี่ยนไปใช้คำว่า "REPUBLIKA NG PILIPINAS" ใน พ.ศ. 2541 รูปนกอินทรีและสิงโตถูกตัดออกไป แต่ตราที่ถูกดัดแปลงนี้ไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย




ที่ตั้ง : เป็นประเทศหมู่เกาะที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนทั้งสิ้น 7,107 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากเอเชียแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 100 กม. และมีลักษณะพิเศษ คือ เป็นประเทศเพียงหนึ่งเดียวที่มีพรมแดนทางทะเลที่ติดต่อระหว่างกันยาวมากที่สุดในโลก
  • ทิศตะวันตกและทิศเหนือติดกับทะเลจีนใต้
  • ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก
  • อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,800 กิโลเมตร
พื้นที่ : 298,170 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 3 ใน 5 ของประเทศไทย) 
เมืองหลวง : กรุงมะนิลา (Manila) 
ประชากร : 88.7 ล้านคน (พ.ศ.2550)
ภูมิอากาศ : มรสุมเขตร้อน ได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่น และดีเปรสชั่น บริเวณที่ฝนตกมากที่สุด คือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ภาษา : มีการใช้ภาษามากกว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโย-โปลินีเซียนตะวันตก แต่ในปี พ.ศ. 2530 รัฐธรรมนูญได้ระบุให้ภาษาฟิลิปิโน (Filipino) และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในประเทศฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาซินด์ ภาษาปัญจาบ ภาษาเกาหลี และภาษาอาหรับ โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก 
ศาสนา : ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยร้อยละ 83 นับถือนิกายโรมันคาทอลิก และร้อยละ 9 เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ มุสลิมร้อยละ 5 พุทธและอื่น ๆ ร้อยละ 3





สกุลเงิน : เปโซ (Peso : PHP) อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ (ซื้อ) 0.72 บาท/ 1 เปโซ (ขาย) 0.75 บาท/ 1 เปโซ (มกราคม 2552) 
ระบอบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 6 ปี)


  •  ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน โรดรีโก ดูแตร์เต ตั้งแต่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559


ที่มา     http://www.baanjomyut.com/library_2/asean_community/philippines/
             https://th.wikipedia.org/wiki/ธงชาติฟิลิปปินส์
             https://th.wikipedia.org/wiki/ตราแผ่นดินของฟิลิปปินส์
             https://th.wikipedia.org/wiki/ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์







เพลงชาติ





เพลงชาติฟิลิปปินส์
ชื่อเพลง : ลูปังฮินิรัง (Lupang Hinirang) บทร้องฉบับทางการ ภาษาฟิลิปิโน แปลว่า “แผ่นดินอันเป็นที่รัก”


เนื้อร้อง
คำแปล

Bayang magiliw
Perlas ng Silanganan
Alab ng puso,
Sa Dibdib mo’y buhay.

Lupang Hinirang,
Duyan ka ng magiting,
Sa manlulupig,
Di ka pasisiil.

Sa dagat at bundok,
Sa simoy  at sa langit mong
Bughaw, May dilag ang tula,
At awit sa paglayang minamahal.

Ang kislap ng watawat mo’y
Tagumpay na nagniningning,
Ang bituin at araw niya,
Kailan pa ma’y di magdidilim,

Lupa ng araw ng luwalhati’t
Pagsinta, Buhay ay langit sa
Piling mo. Aming ligaya na pag
May mang-aapi, Ang mamatay
Ng dahil sa iyo.

แผ่นดินที่รักยิ่ง
ไข่มุกแดนบูรพา
ศรัทธาอันเปี่ยมล้นของหัวใจ
ในใจเธอยังคงอยู่เสมอ

แผ่นดินที่ถูกเลือกสรรเอย
เธอคือถิ่นกำเนิดของผู้กล้า
แด่เหล่าผู้พิชิต
เธอจะต้องไม่ยอมพ่ายผู้ใด

ทั่วทั้งท้องทะเลและขุนเขา
ทั้งทั้งในอากาศและฟ้าคราม
ของเธอ มีความงดงามในบทกวี
และบทเพลงแด่เสรีภาพที่รักยิ่ง

ประกายแห่งธงของเธอ
ส่องสว่างซึ่งชัยชนะ
ดวงดาราและตะวันในธง
จะมิอับแสงลงตลอดกาล

แดงแห่งรุ่งอรุณ เกียรติศักดิ์
และความรักใคร่ของเราเอย
ชีวิตคือสวรรค์ในอ้อมแขนเธอ
ยามเมื่อใครมาย่ำยี เรายินดี
ยอมตายเพื่อเธอ



ที่มา http://www.9ddn.com/content.php?pid=755

การเมืองการปกครอง


   หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปนมากว่า 300 ปี และตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาอีกประมาณ 50 ปี ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชจากการทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยตามแบบสหรัฐอเมริกา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ

     ฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบ  ประชาธิปไตยในรูปแบบสาธารณรัฐ  มีประธานาธิบดีเป็นประมุข  ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนอยู่ในตำแหน่งคราวละ  6  ปี  ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน  1  วาระ  สมาชิกวุฒิสภามี  24  คน  ที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งประเทศ  มีวาระ  6  ปี  และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่งทุกๆ  3  ปี



  ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  17  เขต  (Region)  80  จังหวัด (Provinces)และ 120  เมือง  (City)  โดยแบ่งเขตการปกครองย่อยในท้องถิ่นออกเป็น เทศบาล (municipalities)  และบารังไก (Barangey)  ซึ่งเทียบตำแหน่งตำบลหรือหมู่บ้าน




เขตการปกครองของฟิลิปปินส์
1. เขตอีโลกอส
2. เขตคากายันแวลลีย์
3. เขตเซ็นทรัลลูซอน
4. เขตคาลาบาร์ซอน
5. เขตมิมาโรปา
6. เขตบีโกล
7. เขตเวสเทิร์นวีซายัส
8. เขตเซนทรัลวีซายัส
9. เขตอีสเทิร์นวีซายัส
10. เขตคาบสมุทรซัมโบวังกา
11. เขตนอร์เทิร์นมินดาเนา
12. เขตดาเวา
13. เขตซอกสก์ซาร์เกน
14. เขตคารากา
15. เขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม
16. เขตบริหารกอร์ดีเยรา
17. เขตนครหลวง หรือเมโทรมะนิลา


  ประเทศฟิลิปปินส์มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด  และมีการเลือกตั้งผู้ปกครองในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี วุฒิสมาชิกจนถึงผู้ปกครองท้องถิ่นระดับบารังไกเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด  รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดมีอิสระในการปกครองตนเองภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย

     โครงสร้างอำนาจการปกครองของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น  3  ฝ่าย  คือ

ฝ่ายบริหาร
     หัวหน้าฝ่ายบริหาร  คือ  ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน  มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และจำกัดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาล  บริหารราชกาลแผ่นดินโดยคณะรัฐมนตรี  ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสมาชิก  12 คน  และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลอีก  12  คน  ทั้งนี้ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา
  ส่วนตำแหน่งรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งและมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปีเช่นเดียวกับประธานาธิบดี และสามารถรับการแต่งตั้งเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีได้ โดยไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวกับประธานาธิบดี

ฝ่ายนิติบัญญัติ
     มีหน้าที่พิจารณากฎหมายและข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ  ประกอบด้วย
1) สมาชิกวุฒิสภา  24  คน  ที่มาจากการเลือกตั้ง  มีวาระในการดำรงตำแหน่งครั้งละ  6  ปี  และสามารถดำรงตำแหน่งได้  2  วาระติดต่อกัน
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  250  คน  มาจากการเลือกตั้ง ประมาณ  200  คน  ที่เหลือเป็นสมาชิกระบบบัญชีรายชื่อ  (Party – List)  ของกลุ่ม  ผลประโยชน์ต่างๆ  มีวาระ  3  ปี และการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิด  3  วาระติดต่อกัน

ฝ่ายตุลาการ
     มีหน้าที่การบังคับใช้กฎหมายผ่านศาล  ศาลของฟิลิปปินส์แบ่งเป็น  4  ระดับ  ได้แก่
1) ศาลระดับท้องถิ่น   รับพิจารณาคดีที่ไม่ร้ายแรงนัก
2) ศาลระดับภูมิภาค   มีหน้าที่พิจารณาคดีที่ร้ายแรงกว่าศาลท้องถิ่น  มีทั้งหมด  13  แห่ง  ประจำ  13  ภูมิภาค
3) ศาลระดับชาติ   เป็นศาลอุทธรณ์และศาลมุสลิม ส่วนมากจะรับพิจารณาคดีอุทธรณ์ด้านภาษี คดีข้าราชการ และคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง รวมถึง คดีที่ต้องพิจารณาจากกฎหมายมุสลิม
4) ศาลสูงสุด    ประกอบด้วยประธานและคณะผู้พิพากษาจำนวน  14  คน  รับพิจารณาคดีการเมือง  คดีอุทธรณ์  คดีฎีกา  รวมถึงคดีที่มีความสำคัญระดับประเทศ  เช่น  การสิ่งปลดประธานาธิบดี



ที่มา https://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/ปกบ้านครองเมือง-ประเทศฟิลิปปินส์.html

เศรษฐกิจ





    อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรืออัตราการเติบโตของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย (รองจากจีน)
   ช่วงไตรมาสที่ 1 – 3 ของปี 2556 เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ไตรมาสที่ 4 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ เป็นผลกระทบมาจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ได้สร้างความเสียหายแก่ฟิลิปปินส์อย่างมากในฃ่วงปลายปี 2556 เป็นผลทำให้การเติบโตด้านการลงทุนภายในประเทศฟิลิปปินส์ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มธุรกิจที่ยังถูกจับตาว่าจะเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหภาคโดยรวมของประเทศฟิลิปปินส์ คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร อสังหาริมทรัพย์และฟื้นฟู/ขยายโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่ที่ถูกทำลายจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน
   ดังนั้นแผนฟื้นฟู Reconstruction Assistance on Yolanda (หรือ RAY) ) ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ปี2557 กำหนดว่ารัฐต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ คือด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานใหม่แก่ผู้สูญเสียบ้านและที่อยู่อาศัยประมาณ 183.3 พันล้านเปโซ โครงสร้างสาธารณูปโภค 28.4 พันล้านเปโซ ด้านการศึกษาและบริการดูแลสุขภาพ 37.4 พันล้านเปโซ ด้านการเกษตร 18.7 พันล้านเปโซ ด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ 70.6 พันล้านเปโซ ด้านหน่วยงานบริหารและปกครองท้องถิ่น 4 พันล้านเปโซ และด้านงานประกันสังคม 18.4 พันล้านเปโซ
   ทั้งนี้ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการฟื้นฟู (RAY) เป็นระยะเวลาทั้งหมด 4 ปี ซึ่งทางรัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณขั้นแรกในปี 2557 ที่ 34.5 พันล้านเปโซ และในปี 2558 ที่ 90.6 พันล้านเปโซ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐคาดว่ายังคงขาดเงินงบประมาณอีก 235.8 พันล้านเปโซ ในการดำเนินตามแผนงานฟื้นฟู RAY ระยะกลางในช่วงปี 2558-2560
   อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์มาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ นโยบายการจัดสรรงบประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ และการเพิ่มอัตราการลงทุนของภาคเอกชน (สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา, 2557)
   ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจแบบระบบกสิกรรม โดยประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกษตรกรรม แต่เนื้อที่ที่ใช้เพาะปลูกมีอย่างจำกัด โดยมักจะทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ราบต่ำและ มีการปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อปลูกพืช
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา
ฟิลิปปินส์ยังมีการส่งออกแร่สำคัญ หลายชนิด ได้แก่ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง และเงิน เป็นต้น
อุตสาหกรรมประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
   นอกจากการประกอบอาชีพกสิกรรมแล้ว ประชากรฟิลิปปินส์ยังนิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ดังนั้นฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ

ที่มา: สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย, 2557
        http://www.fact.fti.or.th/th/การค้าการลงทุน-ฟิลิปปิน/

ศิลปะวัฒนธรรม


วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์   เป็นวัฒนธรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิผลจากสเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่

   1. เทศกาลอาติ-อาติหาร

       จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ "เอตาส" ชาเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะแห่งหนึ่งในฟิลิปินส์ และ รำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยอาจจะแต่งตัวเลียนแบบชนเผ่าเอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู



   2. เทศกาลซินูล็อก
       งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย โดยจะจัดแสดงดนตรีและมีขบวนพาเหรดแฟนซีทั่วเมืองเซบู



   3. เทศกาลดินาญัง
       งานนี้จัขึ้นเพื่อรำลึกนักบุญซานโต นินอย เช่นเดียวกับเทศกาลซินูล็อก แต่จะจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคมที่เมืองอิโลอิโย




เครื่องดนตรี  ดนตรีและศิลปะชาวฟิลิปปินส์ได้รับอิทธิผลจากทั้งสองวัฒนธรรมที่มีการย้ายไปยังประเทศนี้ ประเทศแรกของเพลงของเพลงที่พัฒนาขึ้นในประเทศฟิลิปปินส์เป็นเพลงพื้นเมืองที่อพยพมาจากไต้หวัน ลักษณะภาคใต้ ภาคเหนืออื่นๆ ลักษณะและรูปแบบลักษณะจะมีกลุ่มพื้นฐานของดนตรีพื้นเมือง สไตล์ภาคใต้ของเพลงมักจะเกี่ยวข้องกับการใช้ที่แตกต่างกันรวมทั้ง 5 Kulintang, Agung, Gangdinagan, Dabakan, และ Babedil รูปแบบของดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือของเพลงสะท้อนให้เห็นถึงฆ้อง Unbossed เรียกว่า Gangsa นอกเหนือจากเครื่องมือที่ใช้ในภาคใต้และภาคเหนือของสไสล์ดนตรี   อุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในประเทศฟิลิปินส์รวมถึงการเข้าสู้ระบบกลอง ปี่ Zithers ไม้ไผ่และ Kudyapi


Gangsa



Zithers



Dabakan



Agung



Kulintang



Kudyapi





ที่มา https://cultureofaec.wordpress.com/วัฒนธรรมประเทศฟิลิปปิน/









ภาษา




ภาษา ประเทศฟิลิปปินส์มีการใช้การพูดมากกว่า 170 ภาษา ใช้ภาษากาล็อกและภาษาอังกฤษ คือภาษของทางราชการ

ภาษาตากาล็อก เป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซียภาษามลายู ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮีตี ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า


ภาษาฟิลิปปินส์ เบื้องต้น

คำทักทาย

คำทักทาย             กูมูสต้า (kumusta)

คำขอบคุณ             ซาลามัต (salamat)

ไม่เป็นไร                ฮินดี้ บาเล (hindi bale

สบายดีไหม            กูมูสต้า กา (kumusta ka)

ยินดีที่ได้รู้จัก          นาตูตูวา นาอลัม โม (natutuwa na alam no)

พบกันใหม่              มากิตา คายอง มูลิ (makita kayong muli)

ลาก่อน                   ปาอาลัม (paalam)

ไม่เป็นไร                ฮินดี้ บาเล (hindi bale)


อาหาร

น้ำ                  ทูบิก (tubig)

น้ำแข็ง            เยโล่ (yelo)

กาแฟ              อั๊ง ขะเพ่ (ang kape)

นม                  กาตัส (gatas)

เนื้อหมู            อั๊ง บาโบย (ang baboy)

ผัก                  กูเล (gulay)

ผลไม้              อั๊ง พรูตัส (ang prutas)

อร่อย              มาซารับ (masarap)

ก๋วยเตี๋ยว        มิกิ (miki)

ไอศกรีม          ซอร์เบเทส (sorbetes)


ช้อปปิ้ง

ราคาเท่าไร            มักกาโน่ (magkano)

เงินทอน                อั๊ง แพคบาบาโก (ang pagbabago)

เงินสด                   แคช (cash)

ราคาถูก                 มูร่า (mura)

ซื้อ                        บูมิลิ (bumili)

ไม่ซื้อ                   ฮินดี้ บูมิลิ (hindi bumili)

เสื้อผ้า                  เทล่า (tela)

เครื่องสำอาง        สเมติโก้ (kosmetiko)

ยา                        กาม้อต (gamot)

กระเป๋า                 ซูพด (supot)

หนังสือเดินทาง    พาสปอร์ตเต้ (passporte)


เดินทาง

โรงแรม                        อเทล (otel)

โรงภาพยนตร์               ซีเนฮาน (sinehan)

โรงพยาบาล                 ออสปิตอล (ospital)

สถานีตำรวจ                 เอสตัสยอน อัง ปูลิส (estasyon ng pulis)

ห้างสรรพสินค้า            ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ (department store)

ร้ายขายยา                   โบติก้า (botika)

สนามบิน                      ปาริปารัน (paliparan)

ธนาคาร                        แบงโก้ (bangko)

รถแท็กซี่                      แท้กซี่ (taxi)

รถเมล์                          บัส (bus) 

ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาตากาล็อก
        http://eachlanguagesofasean.weebly.com

การแต่งกาย


   ชนเผ่าเดิมของฟิลิปปินส์ คือ นิโกรโตส์ (Negritos) อพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย ต่อมาชนเผ่าอินโดนีเซียได้เข้ามาอยู่ในประเทศนี้ เป็นพวกเชื้อชาติมองโมลอยด์ ผสมคอเคเซียน ที่มีเหลืออยู่ในฟิลิปปินส์ ได้แก่ พวกอีลองโกทส์ ต่อมาชนเผ่ามาเลย์ (Melags) เข้ามาอาศัยอยู่ พวกมาเลย์ได้มีการติดต่อทางวัฒนธรรมกับพวกอินเดีย จีน อาหรับมาแล้ว จึงมีการปกครอง กฎหมาย ศาสนา วรรณคดี ศิลป วิทยาศาสตร์เป็นของตนเอง พวกมาเลย์อพยพเข้ามาฟิลิปปินส์ หลายครั้ง ครั้งที่ 2 ถือว่าเป็นบรรพบุรุษของพวกตากาล็อค วิสายัน อีโกกาโน ปอมปังโก และพวก ฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาคริสต์ ส่วนพวกที่เข้ามาครั้งที่ 3 จะนับถือศาสนาพระมะหะหมัด เป็น บรรพบุรุษของพวกฟิลิปปินโน – มุสลิม อยู่ในเกาะมินดาเนา และซูลู ฟิลิปปินส์เป็นศูนย์กลางการค้าแห่งเอเซีย มีประเทศในเอเซียและตะวันออกไกลเข้ามาทำ การค้าขายด้วย จนในคริสต์ศตวรรษที่ 15 พวกแขกมะหะหมัดแผ่อิทธิพลเข้ามา การค้าขายกับ ประเทศเพื่อนบ้านในเอเซียลดน้อยลง จนกระทั่งชาวสเปนเข้ามา แล้วได้ทราบว่าวัฒนธรรมและ ความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย จีน และชาวอาหรับ 


การแต่งกาย ของชาวฟิลิปปินส์ในยุคนั้น นิยมใช้เครื่องประดับกาย ชาวเกาะ วิสายัน ชอบสักตามใบหน้า ร่างกาย และแขนขา ชายหญิงสวมเครื่องประดับที่ทำด้วยทองคำและเพชร พลอย ชาวพื้น เมืองนิยมใส่ปลอกแขน กำไล และสร้อยคอ ก่อนสเปนเข้าครอบครอง สังคมแบ่ง ออกเป็น 3 ชนชิ้น คือ ขุนนาง เสรีชน และทาส

ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 สเปนก็พบฟิลิปปินส์เป็นชาติแรก ต่อมาเกาะทุกเกาะก็ตกอยู่ ในการปกครองของสเปน และได้รับอารยธรรมต่าง ๆ ตลอดจนประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมการ แต่งกาย และการดำเนินชีวิต ส่วนการแต่งกายก็ไม่มีการสวมเสื้อ แต่งกายแบบชาวเกาะ นิยม ตกแต่งด้วยเครื่องประดับ และสักตามร่างกายดังกล่าวแล้ว

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟิลิปปินส์ได้เอกราชตามสนธิสัญญา เหตุการณ์บ้านเมือง ศิลปวัฒนธรรม เครื่องแต่งกาย ก็มีการผสมผสานกันระหว่างชาวยุโรป เอเชีย และตะวันตก

เครื่องแต่งกายประจำชาติเป็นเสื้อคอกว้างแบบตะวันตก แขนยกตั้งเป็นปีกกว้าง ทำด้วยผ้า บางและแข็งอย่างไหมสับปะรด นุ่งกระโปรงติดกับเสื้อเป็นชุดเดียวกัน ส่วนตามเกาะต่าง ๆ มีการ แต่งกายแบบคล้ายชาวมลายู และอินโดนีเซีย คือ นุ่งโสร่งปาเต๊ะ สวมเสื้อผ้าไหมสับปะรดหรือแพร แขนกระบอกยาวจดข้อมือ มีผ้าพาดบ่า ส่วนผู้ชายจะสวมเสื้อแขนยาวทำจากใบสับปะรด นุ่งกางเกง แบบสากล 

การทอผ้าใยสับปะรดทองฟิลิปปินส์ ทอกันมากกว่า 400 ปี หรือมากกว่า การทอใย สับปะรดเป็นงานที่ละเอียดอ่อนใช้เวลามาก ใยสับปะรดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวดีมาก โดยเฉพาะ เส้นใยของสับปะรดที่ได้จากเมืองอะคลัน


การแต่งการผู้ชาย

   ผู้ชายจะนุ่งกางเกงขายาวและสวมเสื้อที่เรียกว่า บารอง ตากาล็อก (barong Tagalog) ซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าใยสัปปะรดมีบ่า คอตั้ง แขนยาว ที่ปลายแขนเสื้อที่ข้อมือจะปักลวดลาย


บารอง ตากาล็อก - ประเทศฟิลิปินส์


การแต่งการผู้หญิง
   ผู้หญิงนุ่งกระโปรงยาว ใส่เสื้อสีครีมแขนสั้นจับจีบยกตั้งขึ้นเหนือไหล่ คล้ายปีกผีเสื้อ เรียกว่า บาลินตาวัก (balintawak)



บาลินตาวัก - ประเทศฟิลิปินส์



ที่มา  http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_8.html
          http://kaibr.blogspot.com/2013/02/blog-post_18.html


ดอกไม้ประจำชาติ




ดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติประเทศฟิลิปปินส์



ชื่อพื้นเมือง            --

ลักษณะทั่วไป       ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม                                          เปลือกต้น สีขาวเทา แตกเป็นร่องตามยาว

ใบ                         ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็ก
                              ไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ
                              ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้น ๆ โคนใบเบี้ยวเล็ก                                     น้อย ใบมีต่อมน้ำมัน

ดอก                      ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม

ผล                         รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็น                                  ได้ชัด

ด้านภูมิทัศน์             --



ที่มา  https://sites.google.com/site/mnmasean/dxkmi-prathes-filippins


อาหาร




อโดโบ้ (Adobo) เป็นอาหารยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ทำจากเนื้อหมู หรือเนื้อไก่ที่ผ่านการหมัก และปรุงรส โดยจะใส่น้ำส้มสายชู ซีอิ๊วขาว กระเทียมสับ ใบกระวานพริกไทยดำ นำไปทำให้สุกโดยอบในเตาอบ หรือทอด แล้วนำมารับประทานกับข้าวสวยร้อนๆ
          ในอดีตอาหารจานนี้เป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางเนื่องจากส่วนผสมของอโดโบ้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานเหมาะสำหรับพกไว้เป็นเสบียงอาหารระหว่างการเดินทางซึ่งปัจจุบันอโดโบ้ได้กลายเป็นอาหารยอดนิยมที่นำมารับประทานกันได้ทุกที่ทุกเวลา




ปลาบางงุส (Bangus) หรืออีกชื่อว่า Milk Fish และชื่อไทยคือ ปลานวลจันทร์ทะเล เป็นปลาที่มีก้างค่อนข้างเยอะ ถือเป็นปลาที่คนฟิลิปปินส์นิยมเลี้ยงเป็นอย่างมาก ในทุกๆปี จะมีเทศกาลปลาบางงุส โดยจะมีการย่างปลาบางงุสต่อแถวเรียงกันในทางยาว ทั้งยังเคยได้รับการบันทึกลงกินเนสบุ๊คด้วยว่า เป็นการย่างปลาบางงุสที่แถวยาวที่สุดในโลก




ฮาโลฮาโล (Halo Halo) เป็นของหวานยอดนิยมของประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบไปด้วย น้ำแข็งใสละเอียด ตามด้วยผลไม้เชื่อม ถั่วแดงเชื่อม ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าว ไอศครีม ราดหน้าด้วยนมสด หรือนมข้นหวาน หรือน้ำเชื่อม ซึ่งฮาโลฮาโลนี้ เป็นของหวานที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง หากินได้ง่ายมากในกรุงมะนิลา




ที่มา  http://www.วุ้นแปลภาษา.com/อาหารขึ้นชื่อของประเทศ-ฟิลิปปินส์/