หลังจากตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปนมากว่า 300 ปี และตกอยู่ภายใต้การปกครองของสหรัฐอเมริกาอีกประมาณ 50 ปี
ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชจากการทำสนธิสัญญากับสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง ฟิลิปปินส์ก็ได้รับเอกราชอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2489 จึงจัดการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยตามแบบสหรัฐอเมริกา
โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและเป็นหัวหน้าคณะผู้บริหารประเทศ
ฟิลิปปินส์มีการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยในรูปแบบสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนอยู่ในตำแหน่งคราวละ
6 ปี ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 1 วาระ สมาชิกวุฒิสภามี
24 คน ที่มาจากการเลือกตั้งจากผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งประเทศ มีวาระ 6 ปี และรัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งวุฒิสภาจำนวนครึ่งหนึ่งทุกๆ
3 ปี
ฟิลิปปินส์แบ่งเขตการปกครองออกเป็น
17 เขต (Region)
80 จังหวัด (Provinces)และ 120 เมือง
(City) โดยแบ่งเขตการปกครองย่อยในท้องถิ่นออกเป็น
เทศบาล (municipalities) และบารังไก (Barangey) ซึ่งเทียบตำแหน่งตำบลหรือหมู่บ้าน
เขตการปกครองของฟิลิปปินส์
1. เขตอีโลกอส
2. เขตคากายันแวลลีย์
3. เขตเซ็นทรัลลูซอน
4. เขตคาลาบาร์ซอน
5. เขตมิมาโรปา
6. เขตบีโกล
7. เขตเวสเทิร์นวีซายัส
8. เขตเซนทรัลวีซายัส
9. เขตอีสเทิร์นวีซายัส
10. เขตคาบสมุทรซัมโบวังกา
11. เขตนอร์เทิร์นมินดาเนา
12. เขตดาเวา
13. เขตซอกสก์ซาร์เกน
14. เขตคารากา
15. เขตปกครองตนเองในมินดาเนามุสลิม
16. เขตบริหารกอร์ดีเยรา
17. เขตนครหลวง
หรือเมโทรมะนิลา
ประเทศฟิลิปปินส์มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารสูงสุด และมีการเลือกตั้งผู้ปกครองในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี วุฒิสมาชิกจนถึงผู้ปกครองท้องถิ่นระดับบารังไกเป็นหน่วยการปกครองที่เล็กที่สุด รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละจังหวัดมีอิสระในการปกครองตนเองภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงมหาดไทย
โครงสร้างอำนาจการปกครองของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น
3 ฝ่าย คือ
ฝ่ายบริหาร
หัวหน้าฝ่ายบริหาร คือ ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และจำกัดให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาล บริหารราชกาลแผ่นดินโดยคณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วยวุฒิสมาชิก 12 คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลอีก
12 คน ทั้งนี้ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจในการยุบสภา
ส่วนตำแหน่งรองประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งและมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปีเช่นเดียวกับประธานาธิบดี
และสามารถรับการแต่งตั้งเป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีได้
โดยไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองเดียวกับประธานาธิบดี
ฝ่ายนิติบัญญัติ
มีหน้าที่พิจารณากฎหมายและข้อตกลงต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประเทศ ประกอบด้วย
1) สมาชิกวุฒิสภา
24 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง มีวาระในการดำรงตำแหน่งครั้งละ 6 ปี และสามารถดำรงตำแหน่งได้
2 วาระติดต่อกัน
2) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
250 คน มาจากการเลือกตั้ง ประมาณ 200 คน ที่เหลือเป็นสมาชิกระบบบัญชีรายชื่อ
(Party – List) ของกลุ่ม ผลประโยชน์ต่างๆ มีวาระ 3 ปี
และการดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิด 3 วาระติดต่อกัน
ฝ่ายตุลาการ
มีหน้าที่การบังคับใช้กฎหมายผ่านศาล ศาลของฟิลิปปินส์แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่
1) ศาลระดับท้องถิ่น
รับพิจารณาคดีที่ไม่ร้ายแรงนัก
2) ศาลระดับภูมิภาค
มีหน้าที่พิจารณาคดีที่ร้ายแรงกว่าศาลท้องถิ่น มีทั้งหมด 13 แห่ง ประจำ 13 ภูมิภาค
3) ศาลระดับชาติ
เป็นศาลอุทธรณ์และศาลมุสลิม
ส่วนมากจะรับพิจารณาคดีอุทธรณ์ด้านภาษี คดีข้าราชการ และคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง
รวมถึง คดีที่ต้องพิจารณาจากกฎหมายมุสลิม
4) ศาลสูงสุด
ประกอบด้วยประธานและคณะผู้พิพากษาจำนวน
14 คน รับพิจารณาคดีการเมือง คดีอุทธรณ์ คดีฎีกา รวมถึงคดีที่มีความสำคัญระดับประเทศ เช่น การสิ่งปลดประธานาธิบดี
ที่มา https://www.dmc.tv/pages/ความรู้รอบตัว/ปกบ้านครองเมือง-ประเทศฟิลิปปินส์.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น