วันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560

เศรษฐกิจ





    อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรืออัตราการเติบโตของค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปี 2556 อยู่ที่ร้อยละ 7.2 ส่งผลให้ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชีย (รองจากจีน)
   ช่วงไตรมาสที่ 1 – 3 ของปี 2556 เศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ไตรมาสที่ 4 มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ เป็นผลกระทบมาจากเหตุการณ์พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนที่ได้สร้างความเสียหายแก่ฟิลิปปินส์อย่างมากในฃ่วงปลายปี 2556 เป็นผลทำให้การเติบโตด้านการลงทุนภายในประเทศฟิลิปปินส์ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มธุรกิจที่ยังถูกจับตาว่าจะเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับมหภาคโดยรวมของประเทศฟิลิปปินส์ คือ กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค และกลุ่มธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอาคาร อสังหาริมทรัพย์และฟื้นฟู/ขยายโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคในพื้นที่ที่ถูกทำลายจากพายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน
   ดังนั้นแผนฟื้นฟู Reconstruction Assistance on Yolanda (หรือ RAY) ) ของรัฐบาลฟิลิปปินส์ปี2557 กำหนดว่ารัฐต้องใช้งบประมาณในการพัฒนาในด้านต่าง ๆ คือด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานใหม่แก่ผู้สูญเสียบ้านและที่อยู่อาศัยประมาณ 183.3 พันล้านเปโซ โครงสร้างสาธารณูปโภค 28.4 พันล้านเปโซ ด้านการศึกษาและบริการดูแลสุขภาพ 37.4 พันล้านเปโซ ด้านการเกษตร 18.7 พันล้านเปโซ ด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการ 70.6 พันล้านเปโซ ด้านหน่วยงานบริหารและปกครองท้องถิ่น 4 พันล้านเปโซ และด้านงานประกันสังคม 18.4 พันล้านเปโซ
   ทั้งนี้ ต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการฟื้นฟู (RAY) เป็นระยะเวลาทั้งหมด 4 ปี ซึ่งทางรัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณขั้นแรกในปี 2557 ที่ 34.5 พันล้านเปโซ และในปี 2558 ที่ 90.6 พันล้านเปโซ อย่างไรก็ตาม ภาครัฐคาดว่ายังคงขาดเงินงบประมาณอีก 235.8 พันล้านเปโซ ในการดำเนินตามแผนงานฟื้นฟู RAY ระยะกลางในช่วงปี 2558-2560
   อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์มาจาก 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ นโยบายการจัดสรรงบประมาณการใช้จ่ายของภาครัฐ และการเพิ่มอัตราการลงทุนของภาคเอกชน (สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา, 2557)
   ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจแบบระบบกสิกรรม โดยประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ตาม สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์เป็นประเทศเกษตรกรรม แต่เนื้อที่ที่ใช้เพาะปลูกมีอย่างจำกัด โดยมักจะทำการเพาะปลูกบนพื้นที่ราบต่ำและ มีการปรับพื้นที่เนินเขาให้เป็นขั้นบันไดเพื่อปลูกพืช
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา
ฟิลิปปินส์ยังมีการส่งออกแร่สำคัญ หลายชนิด ได้แก่ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง และเงิน เป็นต้น
อุตสาหกรรมประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
   นอกจากการประกอบอาชีพกสิกรรมแล้ว ประชากรฟิลิปปินส์ยังนิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ดังนั้นฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศ

ที่มา: สำนักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชีย, 2557
        http://www.fact.fti.or.th/th/การค้าการลงทุน-ฟิลิปปิน/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น